Questions? +1 (202) 335-3939 Login
Trusted News Since 1995
A service for banking industry professionals · Monday, July 7, 2025 · 829,181,994 Articles · 3+ Million Readers

EBC Financial Group เตือนความเสี่ยงการค้าพุ่ง จับตาเส้นตายมาตรการภาษีทรัมป์ 9 กรกฎาคม

ภาพแบ่งครึ่งระหว่างธงชาติสหรัฐฯ และกราฟแท่งเทียนผันผวน สื่อถึงความเคลื่อนไหวของตลาดที่เปราะบาง ท่ามกลางดีลภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ — EBC

สหรัฐฯ จ่อเปิดมาตรการภาษีใหม่ EBC Financial Group ชี้ความไม่แน่นอนทางนโยบายกระทบตลาดและทิศทางการค้า นักลงทุนทั่วโลกต้องปรับกลยุทธ์รับมือ

ข้อเสนอ “ภาษีตอบโต้” ของทรัมป์ปลุกกระแสตลาดผันผวน ดัชนี VIX พุ่งกว่า 38% เมื่อเทียบรายปี เทรดเดอร์ทั่วโลกจับตาความเสี่ยงและเตรียมรับมือความปั่นป่วน

DC, UNITED STATES, July 7, 2025 /EINPresswire.com/ -- เมื่อมาตรการพักการขึ้นภาษี 90 วันของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 9 กรกฎาคม ตลาดการค้าทั่วโลกกำลังเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ข้อเสนอ “ภาษีตอบโต้” ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ประเทศที่เกินดุลการค้า ยังคงสร้างความกังวลให้กับนักลงทุน ส่งผลให้มีการปรับพอร์ตลงทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น

“ดัชนี VIX เปรียบเสมือนเครื่องวัดอุณหภูมิตลาด ซึ่งสะท้อนว่าความตึงเครียดยังไม่หายไป” เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าวว่า “นักเทรดยังไม่ได้กลับสู่ภาวะสงบ แต่กำลังปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน”

ตลาดยังคงตึงเครียดแม้รายวันจะสงบ

แม้เป็นช่วงที่ตลาดดูเงียบในวันที่ 2 กรกฎาคม แต่ดัชนี VIX ก็พุ่งขึ้นชั่วครู่แตะ 17.37 ในช่วงพรีมาร์เก็ต ก่อนจะปรับตัวลงที่ 16.64 ซึ่งสะท้อนว่าความระมัดระวังของนักลงทุนยังคงอยู่ในระดับสูง ความเปราะบางของตลาดยังเห็นได้ชัด: ดัชนี NIKKEI 225 ของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงราว 0.2% ในวันเดียวกัน เพื่อตอบรับข่าวมาตรการภาษี

ขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยังคงมองว่าความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะประเด็นนโยบายการค้า เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในไตรมาส 3 นักลงทุนจึงทยอยปรับพอร์ตออกจากสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค

สิ่งที่นักเทรดควรจับตา

เมื่อเส้นตายวันที่ 9 กรกฎาคมใกล้เข้ามา ตลาดเริ่มสะท้อนความเป็นไปได้ที่อาจมีการนำมาตรการภาษีใหม่ออกมาใช้มากขึ้น

หากมาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง อาจสร้างแรงกระทบระยะสั้นต่อสินทรัพย์หลากหลายประเภท ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศอย่างญี่ปุ่นและเวียดนาม ยังคงมีแนวโน้มอ่อนไหวต่อประกาศนโยบาย ขณะที่ค่าเงินตลาดเกิดใหม่ เช่น เปโซเม็กซิโกและด่องเวียดนาม อาจเผชิญแรงกดดันให้ปรับตัวลง ขณะเดียวกัน ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ อาจเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนความระมัดระวังของนักลงทุนในภาพรวม

นักวิเคราะห์ของ EBC Financial Group (EBC) แนะนำให้จับตาตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตจากประเทศที่มีความเสี่ยงด้านภาษีอย่างใกล้ชิด รวมถึงข้อมูลกระแสเงินทุนใน ETF ที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ โลจิสติกส์ และศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานทางเลือกอย่างอินเดียและบราซิล นอกจากนี้ คำแถลงจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าอาจส่งผลต่อทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ย แม้ว่าเส้นตายวันที่ 9 กรกฎาคมจะผ่านไปโดยไม่มีมาตรการอย่างเป็นทางการ แต่การประเมินความเสี่ยงใหม่อาจสร้างโอกาสเชิงกลยุทธ์ให้กับนักเทรดที่วางแผนมาอย่างดีแล้ว

วาทกรรมภาษีขยายวง: ญี่ปุ่นตกอยู่ในเป้า

แม้ในตอนแรกเป้าหมายหลักจะอยู่ที่คู่ค้ารายใหญ่ เช่น จีน เม็กซิโก และเวียดนาม แต่ถ้อยแถลงล่าสุดของทรัมป์บ่งชี้ว่าญี่ปุ่นอาจตกเป็นเป้าหมายด้วย หากเขาได้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง ตามรายงานของ The Japan Times เขาได้โยนไอเดียการจัดเก็บภาษีตอบโต้สูงถึง 35% กับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งสูงกว่าระดับที่เสนอไว้กับจีน เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นยอมอ่อนข้อทางการค้าอีกครั้ง

สถานการณ์นี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นปัญหาการค้ารายประเทศ ไปสู่แนวคิดเชิงโครงสร้างที่อ้างอิงดุลการค้าเกินดุลในภาพรวม ซึ่งอาจสร้างความตึงเครียดให้กับพันธมิตรระยะยาว และบ่อนทำลายหลักการค้าระหว่างประเทศ

“ตอนนี้ภาษีไม่ใช่แค่เรื่องขาดดุลการค้าอีกต่อไป แต่กลายเป็นเครื่องมือแสดงสัญญาณทางการเมือง” บาร์เร็ตต์กล่าวเสริม “การหันไปใช้นโยบายการค้าที่มีมิติทางการเมืองมากขึ้นเช่นนี้ ส่งผลโดยตรงต่อความผันผวน โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยี ยานยนต์ และการผลิต”

ศูนย์กลางการผลิตเผชิญความเสี่ยงรอบใหม่

ประเทศอย่างเวียดนามและเม็กซิโก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานเพราะมาตรการภาษี กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนรอบใหม่

เวียดนามเคยเผชิญความเสี่ยงจากมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สูงถึง 46% ซึ่งสร้างความกังวลให้กับตลาดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม การเจรจาล่าสุดนำไปสู่ข้อตกลงเบื้องต้น โดยจะเก็บภาษี 20% กับสินค้าส่งออกตรงจากเวียดนาม และ 40% กับสินค้าที่ถูกส่งต่อผ่านเวียดนามไปยังสหรัฐฯ แม้มาตรการนี้จะผ่อนคลายลงจากข้อเสนอเดิม แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังถือว่ามีนัยสำคัญ โดย GDP ไตรมาส 2 ของเวียดนามเดิมคาดโตที่ 7.6% แต่หากการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง 10% อาจฉุดการเติบโตลง 0.8 จุด ขณะที่ IMF เตือนว่าหากความไม่แน่นอนเรื่องภาษียังคงอยู่ การเติบโตอาจชะลอเหลือ 5.4%

เม็กซิโกเองก็ยังคงเผชิญความเสี่ยง แม้ยังไม่มีการประกาศภาษีใหม่ แต่นักวิเคราะห์อ้างอิงงานวิจัยของ CEPR ที่ระบุว่า ในช่วงสงครามการค้าปี 2018–2019 การส่งออกของเม็กซิโกได้ประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้า โดยเพิ่มขึ้น 4.2% ต่อทุกอัตราภาษี 25 จุดเปอร์เซ็นต์ที่เก็บกับสินค้าจีนประเภทเดียวกัน

จีนยังคงเป็นศูนย์กลางความเสี่ยงการค้าทั่วโลก

ภูมิทัศน์การค้าของจีนสะท้อนภาพผสม ในเดือนมีนาคม การส่งออกของจีนพุ่งขึ้น 12.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 314 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมดุลการค้าเกินดุล 103 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเร่งส่งออกก่อนมาตรการภาษีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม 2568 มีสัญญาณชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด: อัตราการเติบโตของการส่งออกลดเหลือ 4.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นมูลค่ารวม 316.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงเกือบ 35% สะท้อนผลกระทบจากมาตรการภาษีที่เพิ่มขึ้น แม้กระนั้น ดุลการค้าเกินดุลของจีนยังคงขยายตัวเล็กน้อยเป็น 103.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีผลกระทบทั่วโลก

โมเดลภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์เสนอถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เบี่ยงเบนจากกรอบการบังคับใช้ของ WTO หากนำไปใช้จริง อาจมีการเก็บภาษีแบบครอบคลุมกับทุกประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุล รวมถึงพันธมิตรอย่างเยอรมนี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

ความไม่แน่นอนนี้ทำให้การตัดสินใจจัดหาสินค้าระดับโลกของบริษัทข้ามชาติยุ่งยากขึ้น และเสี่ยงสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่พึ่งพาการค้ากับสหรัฐฯ

ข้อมูลนี้สะท้อนมุมมองของ EBC Financial Group และบริษัทในเครือทั่วโลก โดยไม่ได้ถือเป็นคำแนะนำทางการเงินหรือการลงทุน การซื้อขายสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs) มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียทางการเงินอย่างรวดเร็วเนื่องจากการใช้เลเวอเรจ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกคน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องประเมินวัตถุประสงค์การลงทุน ความเชี่ยวชาญ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างรอบคอบก่อนเข้าร่วม EBC Financial Group และบริษัทในเครือไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการอาศัยข้อมูลนี้

ตั้งแต่การวางแผนสถานการณ์ภาพรวมไปจนถึงข้อมูลเชิงลึกทางภูมิรัฐศาสตร์แบบเรียลไทม์ EBC ช่วยให้นักเทรดก้าวนำกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.ebc.com

### 

เกี่ยวกับ EBC Financial Group

ก่อตั้งขึ้นในลอนดอน EBC Financial Group (EBC) เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเป็นนายหน้าทางการเงินและการบริหารจัดการสินทรัพย์ ผ่านบริษัทในเครือที่ได้รับอนุญาตและดำเนินงานในเขตอำนาจทางการเงินหลัก ๆ เช่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย หมู่เกาะเคย์แมน มอริเชียส และอื่น ๆ EBC เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย มืออาชีพ และสถาบัน เข้าถึงตลาดและโอกาสการซื้อขายทั่วโลก ทั้งในตลาดสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs) และอื่น ๆ

ได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนในกว่า 100 ประเทศ และได้รับรางวัลระดับโลกมากมาย รวมถึงการรับรองจาก World Finance หลายปีซ้อน EBC เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะหนึ่งในนายหน้าที่ดีที่สุดของโลก ด้วยรางวัลเช่น แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ดีที่สุด และนายหน้าที่เชื่อถือได้ที่สุด ด้วยความเข้มแข็งด้านกฎระเบียบและความมุ่งมั่นในความโปร่งใส EBC ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มนายหน้าชั้นนำ ที่นักลงทุนไว้วางใจในความสามารถในการนำเสนอทางเลือกการซื้อขายที่ปลอดภัย นวัตกรรม และเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ในตลาดแข่งขันระดับนานาชาติ

บริษัทในเครือของ EBC ได้รับใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลในเขตอำนาจที่เกี่ยวข้อง EBC Financial Group (UK) Limited อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Financial Conduct Authority (FCA) สหราชอาณาจักร; EBC Financial Group (Cayman) Limited อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Cayman Islands Monetary Authority (CIMA); EBC Financial Group (Australia) Pty Ltd และ EBC Asset Management Pty Ltd อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Australian Securities and Investments Commission (ASIC); EBC Financial (MU) Ltd ได้รับอนุญาตและกำกับดูแลโดย Financial Services Commission Mauritius (FSC)

เบื้องหลังของ EBC คือทีมงานมืออาชีพในอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์กว่า 40 ปี ผ่านการรับมือกับวัฏจักรเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ตั้งแต่ Plaza Accord และวิกฤติฟรังก์สวิสปี 2015 จนถึงความผันผวนของตลาดในช่วงโรคระบาด COVID-19 เราปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ ความเคารพ และความปลอดภัยของสินทรัพย์ลูกค้า เพื่อให้ความสัมพันธ์กับนักลงทุนทุกคนได้รับการดูแลอย่างจริงจังและเหมาะสม

EBC ยังเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา และยังคงขับเคลื่อนความร่วมมือที่สร้างผลกระทบในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะผ่านโครงการ United to Beat Malaria ของมูลนิธิสหประชาชาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และพันธมิตรหลากหลายที่สนับสนุนโครงการด้านสุขภาพโลก เศรษฐศาสตร์ การศึกษา และความยั่งยืน

https://www.ebc.com/  

Michelle Siow
EBC Financial Group
+60 163376040
michelle.siow@ebc.com
Visit us on social media:
LinkedIn
Instagram
Facebook
YouTube
X
Other

Powered by EIN Presswire

Distribution channels: Banking, Finance & Investment Industry, Business & Economy, Culture, Society & Lifestyle, U.S. Politics, World & Regional

Legal Disclaimer:

EIN Presswire provides this news content "as is" without warranty of any kind. We do not accept any responsibility or liability for the accuracy, content, images, videos, licenses, completeness, legality, or reliability of the information contained in this article. If you have any complaints or copyright issues related to this article, kindly contact the author above.

Submit your press release